5/5/55

ISO 9000


ISO 9000 คือ มาตรฐานระบบการบริหารงานคุณภาพ

เป็นมาตรฐานระบบการบริหารงานขององค์กร ซึ่งมุ่งเน้นด้านคุณภาพ ที่ประเทศต่าง ๆ ทั่วโลกให้การยอมรับและนำไปใช้อย่างแพร่หลาย เกิดขึ้นมาจากสถาบันมาตรฐานแห่งประเทศเยอรมันนี (DIN) ในปี 1978 โดยมีแนวคิดพื้นฐานว่า ควรมีการนำระบบมาตรฐานของแต่ละประเภทที่ไม่เหมือนกันมารวมให้เป็นมาตรฐานประเภทเดียวกัน ทั้งนี้เพื่อขจัดอุปสรรคทางการค้าที่เกิดขึ้นซึ่งเป็นแนวความคิดที่ตรงกับหลักการขององค์การระหว่างประเทศว่าด้วยการมาตรฐาน ISO (International Organization for Standardization-ISO) ในระยะต่อมาองค์การ ISO จึงได้ตั้งคณะกรรมการด้านเทคนิค (TECHNICAL COMITTEE) ขึ้นมาชุดหนึ่งที่รู้จักกันในนามของ ISO/TC 176 หรือ คณะกรรมการวิชาการคณะที่ 176 (ISO/TC 176 : Quality Management and Quality Assurance) เพื่อทำหน้าที่พัฒนาระบบคุณภาพขึ้นมาใช้ประโยชน์สำหรับวงการพาณิชย์ อุตสาหกรรม การบริการและอื่นๆ โดยมีต้นแบบมาจากมาตรฐานแห่งชาติของอังกฤษ คือ BS 5750 เป็นแนวทาง ISO 9000 จัดทำฉบับแรกเมื่อปี 2530 (คศ.1987) โดยกำหนดให้มีการทบทวนมาตรฐานทุกๆ 5 ปี โดยคณะกรรมการวิชาการ ISO (ISO/TC 176 ) เพื่อปรับปรุงมาตรฐานให้ตอบสนองสถานการณ์ปัจจุบัน
นับตั้งแต่มีการประกาศกำหนดมาตรฐาน ISO 9000 เป็นต้นมา องค์กรต่าง ๆ ทั้งภาคเอกชนและภาครัฐได้นำมาตรฐานดังกล่าว ไปใช้อย่างกว้างขวาง ในการจัดระบบให้สอดคล้องกับข้อกำหนด เพื่อให้ได้รับการรับรอง ระบบการบริหารงานคุณภาพขององค์กร อันจะเป็นสิ่งที่แสดงให้ลูกค้าเห็นว่า องค์กรมีระบบการบริหารงานที่มีประสิทธิภาพ สามารถสนองตอบความต้องการ ของลูกค้าได้อย่างสม่ำเสมอ เพื่อสร้างความมั่นใจให้แก่ลูกค้า
เพื่อให้เหมาะสมสอดคล้องกับกระบวนการของระบบการบริหารงานขององค์กร ซึ่งมุ่งเน้นการสร้างความพึงพอใจให้แก่ลูกค้า และให้มีการปรับปรุงสมรรถนะขององค์กรอย่างต่อเนื่อง ตลอดจนเพื่อให้สามารถ นำไปปรับใช้ร่วมกับระบบการบริหารงานอื่นได้ ประกอบด้วยมาตรฐานหลัก 3 ฉบับ ดังนนี้
  • ISO 9000 : ระบบการบริหารงานคุณภาพ – หลักการพื้นฐานและคำศัพท์
  • ISO 9001 : ระบบการบริหารงานคุณภาพ – ข้อกำหนด
  • ISO 9004 : การจัดการเพื่อความสำเร็จอย่างยั่งยืนขององค์กร – แนวทางการจัดการคุณภาพ
สำหรับ ISO 9002 และ ISO 9003 ถูกนำมารวมไว้ใน ISO 9001 (ประกาศใช้ในปี 2000) สำหรับ ISO 9004 ไดแปลี่ยนชื่อมาตรฐานในการประกาศใช้เมื่อปี 2009 (ISO 9004:2009)
โดยมีหลักการพื้นฐานของการบริหารงานคุณภาพ (Quality Management Principles-QMP) ซึ่งมีหลักสำคัญ 8 ประการ ดังนี้
  1. การให้ความสำคัญกับลูกค้า
  2. ความเป็นผู้นำ
  3. การมีส่วนร่วมของบุคลากร
  4. การบริหารเชิงกระบวนการ
  5. การบริหารที่เป็นระบบ
  6. การปรับปรุงอย่างต่อเนื่อง
  7. การตัดสินใจบนพื้นฐานของความเป็นจริง
  8. ความสัมพันธ์กับผู้ขายเพื่อประโยชน์ร่วมกัน
ประโยชน์ของการนำ ISO 9000 ไปประยุกต์ใช้ ดังนี้
1. ประโยชน์ต่อองค์กร/บริษัท
  • การจัดองค์กร การบริหารงาน การผลิตตลอดจนการให้บริการมีระบบ และมีประสิทธิภา
  • ผลิตภัณฑ์และบริการ เป็นที่พึงพอใจของลูกค้าหรือผู้รับบริการและได้รับการยอมรับ
  • ก่อให้เกิดภาพลักษณ์ที่ดีแก่องค์กร
  • ประหยัดค่าใช้จ่ายในระยะยาว
2. ประโยชน์ต่อพนักงานภายในองค์กร/บริษัท
  • มีการทำงานเป็นระบบ มีมาตรฐาน
  • เพิ่มประสิทธิภาพในการทำงาน
  • พนักงานมีจิตสำนึกในเรื่องของคุณภาพมากขึ้น
  • มีวินัยในการทำงาน
  • พัฒนาการทำงานเป็นทีมหรือเป็นกลุ่มมีการประสานงานที่ดี และสามารถพัฒนาตนเองตลอดจนเกิดทัศนคติที่ดีต่อการทำงาน
3. ประโยชน์ต่อผู้ซื้อ/ผู้บริโภค
  • มั่นใจในผลิตภัณฑ์และบริการ ว่ามีคุณภาพตามที่ต้องการ
  • สะดวกประหยัดเวลาและค่าใช้จ่ายโดยไม่ต้องตรวจสอบคุณภาพซ้ำ
  • ได้รับการคุ้มครองด้านคุณภาพความปลอดภัยและการใช้งาน

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น